[ เมนูหลัก ]
กรอบความคิดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ความสำคัญและความจำเป็นของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

              การพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  ความสามารถ  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง  โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษานั้น  นอกจากจะดำเนินการด้วยการส่งเสริม  สนับสนุนนักเรียนแล้ว  การป้องกันและการช่วยเหลือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาเนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งด้านการสื่อสาร  เทคโนโลยีต่างๆซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้คนในเชิงบวกแล้ว  ในเชิงลบก็ปรากฏเช่นกัน  เป็นต้นว่าปัญหาเศรษฐกิจ  ปัญหาการระบาดของสารเสพติด  ปัญหาการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ ปัญหาครอบครัวซึ่งก่อเกิดความทุกข์  ความวิตกกังวล  ความเครียด  การปรับตัวที่ไม่เหมาะสม  หรืออื่นๆ ที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตและสภาพกายของทุกคนที่เกี่ยวข้อง  ดังนั้น  ภาพความสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามความมุ่งหวังนั้น  จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกคน  โดยเฉพาะบุคลากรครูทุกคนในโรงเรียน  ซึ่งมีครูที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินการต่างๆเพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิดด้วยความรักและเมตตาที่มีต่อศิษย์  และภาคภูมิใจในบทบาทที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้เติบโตงอกงาม  เป็นบุคลที่คุณค่าของสังคมต่อไป
             บทบาทของครูที่กล่าวมานั้นคงมิใช่เรื่องใหม่  เพราะมีการปฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอและได้ดำเนินการมานานแล้วนับตั้งแต่อดีตจนได้รับยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคล  แต่เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย  โดยเฉพาะการทำงานอย่างมีระบบที่มีกระบวนการทำงาน  มีหลักฐานการปฏิบัติงาน  มีเทคนิควิธีการ  หรือการใช้เครื่องมือต่างๆเพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแล้ว  ความสำเร็จของงานย่อมเกิดขึ้นอย่ารวดเร็ว  มีประสิทธิภาพ  ผลดีย่อมเกิดขึ้นกับทุกคนทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นครู  นักเรียน  ผู้ปกครอง  ชุมชน  หรือสังคม
             นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  ได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  ความรู้  และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถร่วนอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  (มาตรา 6 )  และแนวการจัดการศึกษายังได้ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนโดยยึดหลักว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  (มาตรา 22)  ในการจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสม  ของแต่ละระดับการศึกษาซึ่งเรื่องหนึ่งที่กำหนดให้ดำเนินการ  คือเรื่อง  ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข  (มาตรา 23 ข้อ (5))  ทั้งนี้การจัดกระบวนการเรียนให้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  ให้ผู้เรียนรู้จักประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา  ให้รู้จักคิดเป็น  ทำเป็น  รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม  ค่านิยมที่ดีงาม  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชาอีกทั้งมีการประสานความร่วมมือกับบิดา  มารดา  ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย  เพื่อร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียน  ตามศักยภาพ
           ในการปฏิรูปวิชาชีพครู  ซึ่งเป็นการพัฒนาครูให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถคุณลักษณะที่มีคุณภาพ  และมาตรฐานวิชาชีพ  ตามการประกันคุณภาพการศึกษา  กรมสามัญศึกษา  กรมสามัญศึกษาด้านปัจจัย  คือ  ครู  ที่ระบุในมาตราที่ 2  ครูมีคุณธรรม  จริยธรรม  คุณลักษณะที่พึงประสงค์  โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของครูในการพัฒนานักเรียน  คือ  การมีความรัก  เอื้ออาทรเอาใจใส่  ดูแลนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ  การมีมนุษยสัมพันธ์และสุขภาพจิตที่ดี  พร้อมที่จะแนะนำและร่วมกันแก้ปัญหาของนักเรียน  แสดงให้เห็นว่า  ครู  ต้องพัฒนาตนเองให้เป็นครูมืออาชีพ  คือ  นอกจากจะทำหน้าที่ครูผู้มีความรู้  ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนแล้วยังต้องทำหน้าที่อื่นๆ ที่เป็นการสนับสนุนหรือพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ  ทั้งดี  เก่ง  มีสุข  ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานด้านผลผลิต  คือนักเรียนในการประกันคุณภาพการศึกษา  กรมสามัญศึกษา  มาตรฐานที่ 4 ที่มุ่งให้นักเรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์  มาตรฐานที่ 5 มีสุนทรียภาพและลักษณะด้านศิลปะ  ดนตรี  กีฬา  มาตรฐานที่ 6 รู้จักตนเอง  พึ่งตนองได้  และมีบุคลิกภาพที่ดี  มาตรฐานที่ 7  มีสุขนิสัย  สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี  ปลอดจากสิ่งเสพติดให้โทษ  ซึ่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจะเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง  ที่ช่วยเหลือให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานดังกล่าวได้  โดยผ่านกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ  ซึ่งมีความสอดคล้องกับมาตรฐานด้านกระบวนการของการประกันคุณภาพด้านการศึกษา  กรมสามัญศึกษา  มาตรฐานที่ 1 ที่ให้โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ  มาตรฐานที่ 4 มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  โดยเน้นผู้เยนเป็นศูนย์กลาง  มาตรฐานที่ 7 ส่งเสริมความสัมพันธ์  และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนผู้ปกครอง  ชุมชน  องค์กรภาครัฐและเอกชนในการจัดและพัฒนาการศึกษา  ดังนั้น  ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจึงเป็นระบบที่สามารถดำเนินการเพื่อรับการประกันคุณภาพได้  ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านปัจจัย  ด้านผลผลิตและด้านกระบวนการ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                1. นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงตามสภาพปัญหา
                2. สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี  และอบอุ่น
                3. นักเรียนรู้จักตนเองและควบคุมตนเองได้
                4. นักเรียนมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
                5. นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามระบบการช่วยเหลือนักเรียน
              1. ผู้บริหารโรงเรียน  รวมทั้งผู้ช่วยบริหารโรงเรียนทุกฝ่าย  ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  และให้การสนับสนุนการดำเนินงาน  หรือร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
                2. ครูทุกคนและผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีความตระหนัก  ในความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน  และมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนในทุกด้าน
                3. คณะกรรมการหรือคณะทำงานทุกคณะ  ต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดและมีการประชุมในแต่ละคณะ  อย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนด
                4. ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักสำคัญในการดำเนินงาน  โดยได้รับความร่วมมือจากครูทุกคนในโรงเรียน  รวมทั้งการสนับสนุนในเรื่องต่างๆ จากโรงเรียน
                5. การอบรมให้ความรู้และทักษะ  รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล  ความรู้แก่ครูที่ปรึกษาหรือผู้เกี่ยวข้องในเรื่องที่เอื้อประโยชน์ต่อกรดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นสิ่งจำเป็น  โดยเฉพาะเรื่องทักษะการปรึกษาเบื้องต้นและแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆของนักเรียน  ซึ่งโรงเรียนควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

¤ หน้าหลัก

¤ ข้อมูลโรงเรียน

¤ ข้อมูลบุคลากร

¤ ข้อมูลนักเรียน

¤ กรรมการสถานศึกษา

¤ กรรมการนักเรียน

¤ ผลงานครู

¤ ผลงานนักเรียน

¤ เข้าเรียนออนไลน์

-----------------------------------
¤ หน้าแรกระบบดูแล
-----------------------------------
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
-----------------------------------

¤ แผนภูมิระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

¤ ความหมายระบบดูแล

¤ กรอบแนวคิดระบบดูแลฯ
-----------------------------------
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
-----------------------------------

¤ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

¤ การประเมินความฉลาดทางอารมณ์(EQ)

¤ การประเมินพฤติกรรม(SDQ)

¤ การประเมินความเครียด

¤ การประเมินพหุปัญญา

¤ การวัดโรคซึมเศร้า

¤ การสำรวจทักษะการดำรงชีวิต


¤ มาตรการรักษาความปลอดภัย




ดาวน์โหลดคู่มือ

v คู่มือระบบบริหารดูแล
v คู่มือครูระบบดูแล

ดาวน์โหลดเอกสารด้านการดูแลฯ

ขั้นที่ 1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

     v ความรู้การรู้จักผู้เรียนรายบุคคล
     v ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
     v ระเบียนสะสม
     v แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
     v สรุปการเยี่ยมบ้านนักเรียน
     v ข้อมูลพื้นฐานการออกเยี่ยมบ้าน
     v ระเบียนสะสม งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ขั้นที่ 2 การคัดกรองนักเรียน

* คัดกรอกนักเรียนด้านต่าง ๆ

   ความฉลาดทางอารมณ์ EQ
       v แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ EQ
   แบบคัดกรองนักเรียนรายบุคคล
       v แบบคัดกรองนักเรียนรายบุ
       v แบบสรุปรายงานผลการคัดกรอง
   พฤติกรรมเด็ก SDQ
       v SDQ ครูประเมินนักเรียน
       v SDQ นักเรียนประเมินตนเอง
       v การแปลผลคะแนน SDQ
       v สรุปการคัดกรองนักเรียน SDQ
   ภาวะซึมเศร้า
       v แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น CES-D
       v สรุปการคัดกรองภาวะซึมเศร้านักเรียน
   ยาเสพติด
       v แบบคัดกรองปัญหายาเสพติดนักเรียน

ขั้นที่ 3 การป้องกันและแก้ไขปัญหา

     v ความรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหา
     v บันทึกการช่วยเหลือนักเรียน
     v ใบรับรองการแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนผิดระเบียบ
     v สรุปติดตามนักเรียน
     v กิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา YC
     v แบบรายงานแจ้งผลการช่วยเหลือนักเรียน
     v แบบสรุปการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน

ขั้นที่ 4 ส่งเสริมและพัฒนา

     v ความรู้การส่งเสริมและพัฒนา
     v กิจกรรมโฮมรูม
     v ประชุมผู้ปกครองนักเรียน
     v ประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน

ขั้นที่ 5 การส่งต่อ

     v ความรู้การส่งต่อ
     v บันทึกการส่งต่อภายใน
     v บันทึกการส่งต่อภายนอก
     v แบบรายงานแจ้งผลการช่วยเหลือนักเรียน
     v แบบบันทึกการส่งต่อYC